สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) หรือ ONDE กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขอเชิญผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการเข้าร่วมกิจกรรม
การเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ (Hackathon) Hackulture 2023 Illuminate Thai ประชันไอเดียผลักดัน Soft Power แฟชั่นไทย ให้ดังไกลถึงระดับโลก ใครเห็น..ก็ต้องรู้
ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท พร้อมโอกาสนำเสนอผลงานต่อผู้บริหารบริษัทดิจิทัลชั้นนำในประเทศไทย และทีมที่ผ่านรอบคัดเลือกทุกทีมจะได้รับทุน Samart Skills หลักสูตร
E-Learning เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทดิจิทัลชั้นนำระดับโลก มูลค่าประมาณ 5,700 บาท โดยมอบให้กับสมาชิกในทีมทุกคน
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นเวทีประชันความสามารถของมนุษย์ยุคดิจิทัล ให้ใช้ทักษะความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม และยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย (ประกอบไปด้วย สิ่งทอ เครื่องแต่งกายเครื่องหนัง เครื่องประดับ อัญมณี และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้เกิดการสร้าง Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของชาติอย่างยั่งยืน
โจทย์การแข่งขัน
นำเสนอโครงการถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้หัวข้อ/แนวคิด/ธีม “Illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล”
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
- แบ่งเป็น 2 ระดับการแข่งขัน
- นักเรียน นิสิต และนักศึกษา (มัธยม / ปวช. / ปวส. / ปริญญาตรี)
- ประชาชนทั่วไป (ประชาชนทั่วไป / ปริญญาโท / ปริญญาเอก)
**กรณีสมาชิกในทีมมีผสมระหว่าง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้สมัครเข้าประกวดในระดับประชาชนทั่วไป
- สมัครเข้าแข่งขันเป็นทีม ทีมละ 4-6 คน (ไม่จํากัดสถานศึกษา อาชีพ หรือสัญชาติ)
- สมาชิกในทีมสามารถมาจากต่างสถาบันและต่างสาขาวิชาได้
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันที่เป็นบุคคลเดี่ยวไม่สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันนี้ได้
- ผู้สมัครแต่ละท่านสามารถสมัครได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
- หนึ่งทีมสามารถเลือกสมัครเข้าแข่งขันได้เพียง 1 สาขาเท่านั้น
สาขาการแข่งขัน
- สาขาเทคโนโลยี : คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรม หรือปรับปรุงชิ้นงานกระบวนการที่มีอยู่เดิมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น สามารถสร้งความสะดวกสบายหรือเพิ่มมูลค่าเชิงการตลาด อาทิ Appication Game นวัตกรรมที่ใช้ในPlatform ที่มีอยู่เดิม AR VR นวัตกรรมที่ใช้การ Coding เทคโนโลยีบล็อกเชน และอื่น ๆ
- สาขาสื่อมัลติมีเดีย : สร้งสรรค์ชิ้นงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเดิม ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างกรอบความคิดใหม่ นำเสนอผลงานในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง อาทิ แอนิเมชัน โมชันกราฟิก 2D 3D Motion ภาพยนตร์สั้นที่มีการใช้ Computer Graphic เป็นองค์ประกอบในการนำเสนอ และอื่น ๆ
หลักฐานประกอบการรับสมัคร
- ข้อเสนอโครงการส่งเข้าประกวด ตามรายละเอียดในข้อที่ 4 สาขาการแข่งขัน
- สำเนาบัตรประจำตัวนิสิต/นักศึกษา ของสมาชิกในทีม หรือหนังสือรับรองสถานภาพนักศึกษาจากสถาบัน (กรณีสมัครประเภทนักเรียน นิสิต และนักศึกษา)
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนา Passport ของสมาชิกในทีม (กรณีสมัครประเภทประชาชนทั่วไป)
- ภาพถ่ายเดี่ยวของสมาชิกทุกคนในทีม
เงื่อนไขการส่งผลงานเข้าแข่งขัน (รอบคัดเลือก)
- จัดเตรียมข้อเสนอโครงการ (Presentation) ชนิดไฟล์ .pdf .ppt หรือ .pptx เพื่อนำเสนอหัวข้อศิลปะวัฒนธรรมของไทยที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นที่ต้องการถ่ายทอดในระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่น พร้อมบอกเล่าแนวคิดในการถ่ายทอด และรายละเอียดที่จับต้องได้ รวมถึงข้อมูลอ้างอิง (ถ้ามี) และผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้านลิขสิทธิ์ของข้อมูลทุกชนิดในผลงาน ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ผู้เข้าร่วมแข่งชันจะถูกเรียกคืนรางวัลทั้งหมด และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย
- ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด ผู้เข้าร่วมแข่งขันอนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปเผยแพร่สู่สาธารณะได้ และขอสงวนสิทธิ์ในการนำภาพการประกวดของผู้ได้รับรางวัลเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ
- ขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาตัดสินรอบคัดเลือกเฉพาะทีมที่ส่งข้อมูลครบถ้วน ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และส่งใบสมัครภายในเวลาที่กำหนด
- ไม่ควรส่งใบสมัคร และผลงานเข้าประกวดในวันสุดท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าระบบพร้อม ๆ กันจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการอัปโหลดข้อมูล และให้สามารถสมัครได้ทันตามกำหนดเวลา
- หัวข้อโครงการหรือผลงานที่ส่งเข้าประกวดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมก่อนเริ่มกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงาน (Implement with mentor) และต้องผ่านการพิจารณาในเบื้องต้น
- เงื่อนไขอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างต้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ โดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
เงื่อนไขการส่งผลงานเข้าแข่งขัน (รอบสุดท้าย)
- ผลงานที่ส่งเข้าร่วมการประกวดประเภทคลิปวิตีโอต้องมีความยาวไม่เกิน 3 นาที (รวมไตเติ้ลของโครงการฯ ตอนเริ่มต้นผลงานและเครดิตปิดท้าย)
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีตราสัญลักษณ์ (L0G0) ของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (เครติตปิดท้ายคลิปวิดีโอหรือด้านบนของอินโฟกราฟิก) มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ประกวด
- สามารถส่งผลงานได้ 1 ผลงานต่อทีม
- การตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดของคณะกรรมการคัตเลือกและตัดสินฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
- ผู้สมัครต้องจัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมดำเนินการผลิตผลงานเองทั้งหมดและเป็นผู้รับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิป วิตีโอ ซอฟต์แวร์หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
- ไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ เทคนิคการถ่ายทำ เทคนิคการผลิต และการตัดต่อ โดยผลงานทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นผลงานที่จัดทำขึ้นใหม่ หรือไม่เคยมีการนำเสนอที่ ได้มาก่อน และต้องไม่เคยได้รับรางวัลใดมาก่อน
- ภาพและเสียงที่ปรากฏในผลงานต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม ไม่หลบลู่สถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ และไม่มีเนื้อหาแสดงกิริยาไม่สุภาพ หยาบคายลามกอนาจาร หรือให้ร้ายบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ
- ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด ขอสงวนสิทธิ์พิจารณาเพื่อเผยแพร่ในสื่อประชาสัมพันธ์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจากทีมผู้เข้าแช่งขันถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาผลงาน โดยอนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำไปเผยแพร่ และใช้ประโยชน์ในกิจกรรมสาธารณะโดยไม่แสวงหาผลกำไรได้
- คณะกรรมการและผู้มีส่วนร่วมในโครงการไม่มีสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าแข่งขันและชิงรางวัล
- เจ้าของผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเข้าร่วมพิธีประกาศรางวัลและรับเงินรางวัลในแต่ละประเภท
- ผู้ได้รับรางวัลจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 พร้อมแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่น ๆ ที่ออกโดยราซการ เพื่อยื่นยันตัวตนในวันประกาศผลรางวัล
- เงื่อนไขอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน โดยผลการตัดสินผลงานของคณะกรรมการ ถือเป็นเด็ดขาดและสิ้นสุด
- ตลอดระยะเวลาของกิจกรรม ผู้จัดงานมีสิทธิ์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎข้อบังคับต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
เกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก
- เกณฑ์การตัดสิน (รอบคัดเลือก) สาขาเทคโนโลยี
1. ความคิดสร้างสรรค์ในการยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (เป้าหมายของผลงานที่นำเสนอ) และแนวทางต่อยอดด้านเศรษฐกิจ | 35 คะแนน |
2. การเลือกใช้เทคโนโลยีในผลงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ | 25 คะแนน |
3. มีการใช้ทุนทางวัฒนธรรม และมีความรู้ความเข้าใจในทุนทางวัฒนธรรมที่เลือกใช้ | 30 คะแนน |
4. ศักยภาพของทีมในการพัฒนาผลงาน (องค์ประกอบของทีมมีความเหมาะสม) | 10 คะแนน |
- เกณฑ์การตัดสิน (รอบคัดเลือก) สาขาสื่อมัลติมีเดีย
1. ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอเรื่องราวที่ส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยด้วยสื่อ Digital Content (เป้าหมายของผลงานที่นำเสนอ) และแนวทางต่อยอดด้านเศรษฐกิจ | 35 คะแนน |
2. การเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียในผลงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ | 25 คะแนน |
3. มีการใช้ทุนทางวัฒนธรรม และมีความรู้ความเข้าใจในทุนทางวัฒนธรรมที่เลือกใช้ | 30 คะแนน |
4. ศักยภาพของทีมในการพัฒนาผลงาน (องค์ประกอบของทีมมีความเหมาะสม) | 10 คะแนน |
กำหนดการ
วันที่ | กิจกรรม |
15 สิงหาคม – 30 กันยายน 2566 | รับสมัครทีมผู้เข้าแข่งขัน |
19 ตุลาคม 2566 | ประกาศผลการคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบ 40 ทีม |
27 – 29 ตุลาคม 2566 | กิจกรรมค่าย (Boot camp) เรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อต่อยอดแนวคิดสร้างสรรค์ผลงาน |
30 ตุลาคม – 15 ธันวาคม 2566 | กิจกรรมสร้างสรรค์ผลงาน (Implementation with Mentors) |
16-17 ธันวาคม 2566 | กิจกรรมนำเสนอผลงาน (Pitching Day) |
มกราคม 2567 | ประกาศผลรางวัล และนิทรรศการผลงานจาก ทีมผู้เข้าแข่งขัน |
รางวัลจากการแข่งขัน
- ประเภทนักเรียน นิสิต และนักศึกษา
สาขาเทคโนโลยี | สาขาสื่อมัลติมีเดีย |
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล | รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จำนวน 1 รางวัล | รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จำนวน 1 รางวัล |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จำนวน 1 รางวัล | รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จำนวน 1 รางวัล |
- ประเภทประชาชนทั่วไป
สาขาเทคโนโลยี | สาขาสื่อมัลติมีเดีย |
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล | รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จำนวน 1 รางวัล | รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จำนวน 1 รางวัล |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จำนวน 1 รางวัล | รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จำนวน 1 รางวัล |
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ติดต่อสอบถาม
ศูนย์ประสานงานโครงการ Digital Cultural Heritage Thailand ระยะที่ 2
อีเมล : dcht2@event.hackulture.com
เบอร์โทรศัพท์ : 099-4946664 (ผู้ประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ นางสาวพชรพร ชมภู)