คำบอกเล่าจากเหล่านักสร้างสรรค์ “อัปเวลแฟชั่นไทยด้วยดิจิทัล”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศผลและมอบรางวัลกิจกรรมแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ “Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” ไปดูผลรางวัลและคำบอกเล่าจากเหล่านักสร้างสรรค์ถึงที่มาของไอเดียดี ๆ เหล่านี้กัน

📌รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ได้แก่ทีม Fash.Design  นำเสนอแพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ประกอบการชุดไทยท้องถิ่น และชุดไทยดั้งเดิม ด้วยเทคโนโลยี AI สร้าง Virtual Model ดิสเพลย์ที่สวยงาม แปลได้ 70 ภาษา

คำบอกเล่าจากสุดยอดนักสร้างสรรค์

ทีม Fash.Design  ให้สัมภาษณ์ว่า “รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะนำสิ่งที่คณะกรรมการแนะนำไปปรับปรุง เพื่อพัฒนางานดีไซน์ให้ดียิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยแปลภาษา จะช่วยให้ทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น กลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดน สามารถติดต่อกับต่างชาติ ขายแฟชั่นชุดไทยให้ต่างชาติได้ง่ายขึ้น เป็นการส่งต่อวัฒนธรรมของไทยออกไปทั่วโลก”

📌ผลการแข่งขัน สาขาเทคโนโลยีระดับนักเรียนนิสิตนักศึกษา 

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม 4DEV  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม The Board ThaiGuideGame สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง/ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีม Metempta  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ทีม 4DEV  “อยากนำเสนอแฟชั่นไทยที่โดดเด่นอย่างกางเกงมวยไทย และรอยสักสไตล์ไทย ๆ  ผ่านเกมเพราะคนชอบเล่นเกม หากสะท้อนวัฒนธรรมไทยผ่านเกมที่ผสานกับแฟชั่นไทย น่าจะดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นให้รู้จักและเข้าถึงแฟชั่นไทยได้มากขึ้น การเข้าร่วมแข่งขันโครงการนี้ ทำให้มีโอกาสสืบค้นวัฒนธรรมไทย รู้สึกว่าประเทศไทยมีอะไรดี ๆ อีกมากมาย อยากจะเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น อยากนำแฟชั่นของไทยให้ไปไกลสู่ระดับโลก”

ทีม The Board ThaiGuideGame “เราทำบอร์ดเกมออนไลน์ที่ถ่ายทอดข่าวสารและของดีของจังหวัดต่าง ๆ เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าซิ่น ผ้าฝ้ายลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละจังหวัด อยากให้ต่างชาติรู้ว่าประเทศไทย มีของดีอะไรบ้าง รวมถึงแฟชั่นไทยนำไปประยุกต์กับแฟชั่นปัจจุบันได้ ผ้าไทยมีเสน่ห์อยู่แล้ว หากนำเสนอด้วยดิจิทัล ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ ช่วยให้แฟชั่นไทยเป็นที่พูดถึงและรู้จักมากยิ่งขึ้น”

ทีม Metempta “ผลงานของเรา คือเกมเล่นซ่อนหาธีมงานวัด บนแพลตฟอร์มเกมออนไลน์ Roblox นำเสนอแฟชั่นไทยสไตล์งานวัด ในอนาคตอาจจะเชื่อมเข้ากับช่วงเทศกาล เช่น ประเพณีสงกรานต์ อาจเปลี่ยนเป็นเรื่องราวของประเพณีสงกรานต์ เราเชื่อว่า แพลตฟอร์มเกมออนไลน์นี้ มีชาวต่างชาติและคนไทยเล่นเป็นจำนวนมาก แฟชั่นไทยสไตล์งานวัดจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลายกลุ่ม”

📌ผลการแข่งขันสาขาเทคโนโลยีระดับประชาชนทั่วไป 

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Fash.Design 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม Fashion Verse 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีม DM-TRU Warrior

✅ทีม Fash.Design “เราสร้างแพลตฟอร์มที่ช่วยสนับสนุนแฟชั่นไทยออกสู่ตลาดโลกอย่างสมบูรณ์แบบ ในส่วนของตลาดออนไลน์โดยใช้ AI สร้างนางแบบเสมือนจริงที่สวมใส่ชุดไทยด้วย AI model และแสดงสินค้าออนไลน์ที่เชื่อมต่อทั่วโลก มี AI ช่วยแปลภาษา กลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดน ทำให้ธุรกิจแฟชั่นไทยเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น”

✅ทีม Fashion Verse  “พัฒนาแฟชั่นไทยให้ไปไกลระดับโลก เพิ่มความทันสมัย ด้วยซอฟต์แวร์สร้างแพตเทิร์นเสื้อผ้า ส่งเสริมแฟชั่นผ้าไทยโดยใช้เทคโนโลยี AR ต้องการเจาะกลุ่ม High Margin เสื้อที่เป็นเอกลักษณ์จะช่วยตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาเรื่องแฟชั่นได้ สร้างมูลค่าให้ผ้าไทยด้วยแพตเทิร์นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว”

✅ทีม DM-TRU Warrior  “อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยถือเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย แต่ต้องสร้างการรับรู้ โดยเฉพาะระดับเยาวชน จึงเลือกสร้างเกมการเรียนรู้ด้านแฟชั่นไทย โดยหยิบตัวละครจากวรรณคดีไทย มานำเสนอร่วมกับแฟชั่นไทย เช่น แก้วหน้าม้า เงาะป่า ชูชก และยังต่อยอดเป็น Art Toy หรือเสื้อผ้าแฟชั่นไทยจริง ๆ ได้ในอนาคต”

📌 ผลการแข่งขันสาขาสื่อมัลติมีเดียระดับนักเรียนนิสิตนักศึกษา 

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Y2Thai  มหาวิทยาลัยศิลปากร 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม Thai Style  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีม Cocoon  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

✅ทีม Y2Thai “เราสร้างคลิปวิดีโอคอนเทนต์ในแพลตฟอร์ม TikTok แล้วก็ Instagram โดยพาทุกคนไปรู้จักกับการใส่เสื้อผ้าไทยในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผ้าไทยกลายเป็น Everyday Looks คนดูได้แนวคิดใหม่ ๆ ในการแต่งตัว ส่วน SME รายย่อย เราจะเข้าไปช่วยบุกเบิกตลาดออนไลน์ให้สามารถขายผ้าไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ขยายตลาดได้กว้างมากขึ้น”

✅ทีม Thai Style  “เรานำผ้าปาเต๊ะ มาสร้างสรรค์เป็น Effect หรือ ฟิลเตอร์ใน Tiktok ให้ทุกคนได้ลองแต่งตัวด้วยแฟชั่นไทยจากผ้าปาเต๊ะ ได้ดูว่าพอใส่ชุดไทยแล้วจะเป็นอย่างไร ผ่านไปหนึ่งเดือนมีต่างชาติมาเล่น Effect ของเราด้วย นี่คือส่วนหนึ่งในการสร้าง Soft Power ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังสามารถสั่งซื้อผ้าปาเต๊ะผ่านตะกร้าในช่องของเราได้เลย”

✅ทีม Cocoon  “อยากให้ชาวต่างชาติที่มาเมืองไทยได้รู้จักผ้าไทย จึงสร้างคลิป VDO นำเสนอการแต่งกายด้วยผ้าไทย ในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ผ่านตัวการ์ตูน Art Toy ช้างชื่อ “น้องน้ำใจ” สื่อถึงความเป็นไทย ผ่านการแต่งกาย และนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว หรือจุดเด่นในแหล่งชุมชนนั้น ๆ”

📌ผลการแข่งขันสาขาสื่อมัลติมีเดียระดับประชาชนทั่วไป 

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม CrowdMart Thailand  
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม FA DPU 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีม Moody(มูดี้)   

✅ทีม CrowdMart Thailand  “เราออกแบบสื่อมัลติมีเดีย รวมผ้าไทยจากชุมชน 4 ภูมิภาค 10 จังหวัด สร้างคอนเทนต์ให้เหมือน Edutainment เด็กรุ่นใหม่ เสพแล้วสนุก อุตสาหกรรมแฟชั่นในอนาคตของไทย มีโอกาสเติบโตสูงเพราะมีทุนทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว แต่เราต้องยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยให้มากขึ้นด้วยคอนเทนต์ที่น่าสนใจ”

✅ทีม FA DPU “นำคุณค่าชุมชนสู่โลกเสมือน ใช้ VR Edutainment ออกแบบการเรียนรู้เรื่องแฟชั่นไทยที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชน  ทำคลิป VDO สร้าง Story Telling ออกแบบ สร้าง VR 360 องศา ร้านค้าเสมือนจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ ให้ข้อมูล ความเป็นมา และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน”

✅ทีม Moody(มูดี้)   “เราพัฒนาหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ของขุมชนบ้านป่าบง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เข้ากับการแต่งตัวยุคปัจจุบัน โดยออกแบบเป็นเครื่องประดับสายมู แล้วเผยแพร่ Content ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างมูลค่าและเพิ่มช่องทางจำหน่ายออนไลน์ให้ผลิตภัณฑ์ อยากให้คนยุคใหม่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม อยากเผยแพร่และต่อยอด ให้ทุกคนได้ลองเปิดใจ”

ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.hackulture.com  

#Hackulture2023 #illuminateThai #อัปเวลแฟชั่นไทยด้วยดิจิทัล #สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ #สดช.