ข้อมูลวัฒนธรรม

ตัวละครอัปลักษณ์ของวรรณคดีไทย

ประเภท

จับต้องไม่ได้

หมวดหมู่

วัฒนธรรมการแต่งกาย

ชื่อผลงาน

Thai fashion kingdom

เนื้อหา

ตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทย ในด้านรูปลักษณ์ นิสัยและพฤติกรรม กลวิธีการสร้าง และบทบาทของตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตัวละครอัปลักษณ์มีจำนวน 18 ตัว ได้แก่ ชูชก พรานบุญ เจ้าเงาะ นางค่อมกุจจีนางสำมนักขา ขุนช้าง หมื่นหาญ จรกา ท้าวสันนุราช นางคันธมาลี นางผีเสื้อสมุทร ชีเปลือย นางวาลี เจ้าละมาน ย่องตอด นางแก้วหน้าม้า นางประแดะ และนางศรีสาหง ผลการศึกษาพบว่า ในด้านรูปลักษณ์ ตัวละครอัปลักษณ์มีรูปร่างอัปลักษณ์ 12 ลักษณะ ได้แก่ อวัยวะผิดรูป อวัยวะพิการ อวัยวะไม่สะอาด อวัยวะมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีขนาดใหญ่ เส้นผมและขนไม่เป็นระเบียบ เส้นผมและขนยาวกว่าปกติ ผมน้อย ผิวดำคล้ำ ผิวหนังไม่เกลี้ยงเกลา หน้าอกหย่อนยาน และเล็บกุด ในด้านนิสัยและพฤติกรรมพบ 2 ลักษณะ คือ นิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดี ปรากฏ 14 ลักษณะ ได้แก่ หมกมุ่นกามตัณหา เจ้าเล่ห์เพทุบาย กล่าวเท็จ ขี้ขลาด ไม่มีความเฉลียวฉลาด ด้อยความสามารถในการรบ ไม่ชำนาญในการเกี้ยวพาราสีสตรี โลภ กล้าแสดงความรักต่อผู้ชายก่อน ขี้หึง เจ้ามารยา ไม่ซื่อสัตย์กับสามี พฤติกรรมหยาบคาย และพฤติกรรมบ้าใบ้ และนิสัยและพฤติกรรมที่ดี ปรากฏ 6 ลักษณะ ได้แก่ มีวิชาความรู้ มีปัญญาและความเฉลียวฉลาด มีความกล้าหาญ มีความสามารถ มีความซื่อสัตย์ และมีอำนาจ ด้านกลวิธีการสร้างตัวละครอัปลักษณ์ ด้วยกลวิธีการสร้างตัวละคร 2 ประการ ได้แก่ กลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีทางภาษาพบว่า ในด้านกลวิธีการเล่าเรื่องใช้กลวิธีการสร้างตัวละครอัปลักษณ์ 3 ลักษณะ ได้แก่ กลวิธีการสร้างจากการบรรยายของผู้เล่าเรื่องแบบผู้รู้ กลวิธีการสร้างจากการบรรยายตัวละครอื่นในเรื่อง และการสร้างจากถ้อยคำของตัวละครอัปลักษณ์ ส่วนด้านกลวิธีทางภาษามีการเลือกใช้คำที่แสดงความหมายในเชิงลบ และการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาและอุปลักษณ์ในการเปรียบเทียบเพื่อนำเสนอภาพในเชิงลบของตัวละครอัปลักษณ์ ด้านบทบาทของตัวละครอัปลักษณ์ต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีไทยพบว่า ตัวละครอัปลักษณ์มีบทบาทสำคัญ 3 ลักษณะ ได้แก่ บทบาทที่มีต่อโครงเรื่อง บทบาทที่มีต่อตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง และบทบาทในการถ่ายทอดทัศนคติที่มีต่อความอัปลักษณ์

ผลงานต่อยอด

เกมเศรษฐีแฟชั่นไทยเป็นการนำมรดกวัฒนธรรมแฟชั่นไทยมาสร้างเกมเพื่อแบ่งปันความรู้และการเรียนรู้ผ่านการเล่นเกม โดยนำมาสร้างสรรค์เนื้อเรื่องและเรื่องราวต่างๆในเกม เพื่อให้เกิดการซึมซับและความภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย รวมถึงการนำเกมในรูปแบบเกมมิฟิเคชั่นมาใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการเล่นเกม ซึ่งอาจจะมีของรางวัลเป็นตัวดึงดูดความสนใจ เพื่อสงเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยในอนาคต

บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

1. นางสาวชลดา ธนิกุล
2. นางสาวศิริลักษณ์ วงค์จันทร์
3. นายภัทรศักดิ์ เรืองศุภลักษณ์
4. นายอัรฮาวี เจ๊ะสะแม
5.นายพสุกิตติ์ จันทร์แจ้ง

ที่อยู่

มหาวิทยาลัยธนบุรี
248 เพชรเกษม 110 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160